วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

วิธีการเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิง


Category Archives: Uncategorized

การกินอาหารของหม้อข้าวหม้อแกงลิง

การกินอาหารของหม้อข้าวหม้อแกงลิง
ทรงของต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงนั้น มีทั้งยาวและสั้นตามลักษณะทางพันธุกรรม  มีฝาปิด ซึ่งสามารถกันน้ำฝนได้ เป็นร่มกับบังให้แมลงได้

 
ลักษณะของใบของต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นกับดักรูปทรงกระบอกมีหน้าที่ดักจับแมลง

 ลักษณะของกับดัก 
มีฝาปิด ทำหน้าที่ ป้องกันน้ำย่อยในหม้อไม่ให้ฝนที่ตกลงมาไปเจือจางน้ำย่อย
ในกับดัก มี สารจำพวกขี้ผึ้งอยู้บริเวณผิวหนังภายใหนส่วนบน ทำหน้าที่
ทำให้บริเวณนั้นลื่น แมลงที่มากินน้ำหวานจะตกไปได้ง่าย
หม้อข้าวข้าวหม้อแกงลิงบางชนิดมีขนแหลมบริเวณปาก ทำหน้าที่
เวลาแมลงตกลงลงไปใหนกับดัก แมลงจะไต่กลับึ้นมาได้ยาก
 เมื่อแมลงตกลงไปใหนกับดัก จะถูกย่อยด้วยน้ำย่อยที่ผลิตมา
น้ำย่อยจะย่อยสารอาหารของเหยื่อและลำเลียงไปใช้ประโยชน์
ส่วนกากของเหยื่อที่ไม่สามารถย่อยได้จะถูกทิ้งไว้ที่ก้นของกับดัก
หม้อข้าวหม้อแกงลิงแต่ละชนิดมีวิธีหลอกล่อเหยื่อที่หลากหลาย
ไม่ว่าจะเป็น การสร้างน้ำหวาน  ผลิตกลิ่นแมลงตัวเมีย
หรืออาจจะมีสีสันต่างๆที่สะดุดตา


ข้อบังคับการอนุรักษ์ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง


ข้อบังคับการอนุรักษ์ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง

หม้อข้าวหม้อแกงมีความเสี่ยงสูงที่จะสูญพันธื์ เนื่องจากการเก็บมาขายหรือบุกรุกป่า ทั้งนี้สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ
ได้บรรจุ ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง ลงในบัญชีอนุรักษ์ของสัญญาไซเตส เนื่องจากประเทศไทยได้เป็นสมาชิก จึงได้กำหนดนโยบายต่างๆ 
ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่อง พืชอนุรักษ์ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2518 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535 รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง


วงศ์หม้อข้าวหม้อแกงลิง (NEPENTHACEAE (Pitcher-plants)


พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 1
ชื่อไทย  นีเพนเธส คาเซียนา
ชื่อสากล Nepenthes khasiana 
ชื่อทางวิทยาศาสตร์  Indian pitcher plant

ชื่อไทย  นีเพนเธส ราจาห์
ชื่อสากล Nepenthes rajah
ชื่อทางวิทยาศาสตร์  Kinabalu pitcher plant

พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2
ชื่อไทย  นีเพนเธส สปีชีส์
ชื่อสากล Nepenthes spp.
ชื่อทางวิทยาศาสตร์  Pitcher-plants

ข้อบังคับ
1. ห้ามมิให้ผู้ใดนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านพืชอนุรักษ์และซากของพืชอนุรักษ์ เว้นแต่ได้รับหนังสืออนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย (มาตรา 29 ตรี)
2. ผู้ใดประสงค์จะขยายพันธุ์เทียมพืชอนุรักษ์เพื่อการค้า ให้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนสถานที่เพาะเลี้ยงพืชอนุรักษ์ต่อกรมวิชาการเกษตร (มาตรา 29 จัตวา)



เทคนิคการปลูกเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิงให้สวยงาม

เทคนิคการปลูกเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิงให้สวยงาม
ผู้คนส่วนใหญ่อาจจะคิดว่าการเลี้ยงต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นเรื่องที่ยาก แต่ความเป็นจริงถ้าเรารู้เทคนิคเพียงเล็กน้อยก็จะสามารถเลี้ยงต้อนหม้อข้าวหม้อแกงลิง
ให้สวยงามได้
วัสดุที่ใช้ปลูกหม้อข้าวหม้อแกงลิง
หม้อข้าวหม้อแกงลิง เป็นต้นไม้ที่ชอบเครื่องปลูกที่มีลักษณะโปร่งๆ ถ่ายเทอากาศได้สะดวก มีความชื้น และไม่แฉะ ปกติจะใช้กาบมะพร้าวสับขนาดเล็ก
เราอาจใช้ขุยมะพร้าว, ทรายหยาบ, ใบก้ามปู, หินภูเขาไฟ หรือ หินพัมมิส , เวอร์มิคูไลท์  , เพอร์ไลท์ , สแฟกนั่มมอส
และ พีทมอส  เป็นส่วนประกอบของเครื่องปลูกได้ โดยใช้ผสมกับกาบมะพร้าวสับ ในอัตราส่วน 3:1
(กาบมะพร้าว 3 ส่วน อื่นๆ 1 ส่วน)
กระถาง
 กระถางที่เหมาะสมแก่การการเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิง ควรจะใช้กระถางพลาสติก และไม่ควรใช้กระถางดินเผา
ในการปลูกเลี้ยง
น้ำ 
การให้น้ำหม้อข้าวหม้อแกงลิง  รดน้ำวันละครั้งเดียว ตอนช่วงเช้า รดให้น้ำทะลุผ่านออกก้นกระถาง และหากจำเป็นต้องรด
ช่วงเย็น พยายามให้น้ำที่เกาะอยู่ตามต้นแห้งก่อนจะค่ำ
แสง
 แสงเป็นปัจจัยสำคัญที่ให้หม้อข้าวหม้อแกงลิงเจริญเติบโต และออกหม้อ หม้อข้าวหม้อแกงลิงควรได้รับแสงอย่างน้อยครึ่งวัน การเจริญเติบโตอาจช้ากว่าต้น
ที่ได้รับแสงเต็มวัน หม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็น ต้นไม้ที่ชอบแสงมากๆ แต่ไม่ชอบแดดกลางแจ้งโดยตรง
ความชื้น
 ความชื้นเป็นปัจจัยสำคัญทำให้หม้อข้าวหม้อแกงลิงออกหม้อ ถ้าความชื้นไม่เพียงพอปลายใบที่พัฒนาออกมาเป็นหม้อจะแห้ง ไม่เจริญเติบโตต่อ
ปุ๋ย และอาหารเสริม 
เป็นสิ่งที่ไม่ค่อยจำเป็นมากสำหรับหม้อข้าวหม้อแกงลิง แต่ถ้าใส่จะทำให้เจริญเติบโตรวดเร็วขึ้น ใช้ปุ๋ยละลายช้าสูตรเสมอ 14-14-14, 16-16-16 หรือสูตรเร่งดอก
ก็ได้ ใส่ประมาณ 5-15 เม็ด ต่อกระถาง ใน 1 ปีควรใส่ปุ๋ยแค่ 2-4 ครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น