วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

หม้อจาก หาดใหญ่

หม้อข้าวหม้อแกงลิง จากสวนผาสุข หาดใหญ่ สงขลา

ประสบการณ์ครั้งใหม่ กับการสั่งซื้อหม้อข้าวหม้อแกงลิง จากสวนผาสุข หาดใหญ่ สงขลา

ความจริงแล้วไม่ได้สั่งซื้อเองหรอก ได้น้องฟาร์มนักเล่นหม้อฯ อีกคนซึ่งเคยสั่งของที่นี่ ช่วยแนะนำและสั่งของให้ โดยการันตีว่า ราคาถูกมาก ก็เลยลองดูสักตั้ง

โอนเงินไป เพียง 3 วัน พัสดุไปรษณีย์ EMS ก็มาถึงบ้าน แต่โชคร้ายพอดีเป็นวันศุกร์ ไม่มีคนอยู่บ้าน เลยต้องไปรับเช้าวันเสาร์ ที่ 12 มิ.ย. 52

เมื่อเปิดกล่องมาก็การบรรจุ ก็เป็นลักษณะนี้ครับ
Photobucket
ต้นไม้แต่ละต้น ใส่ในถุงอัดลม มัดปากถุงแน่นหนา กันการกระแทก ซึ่งในครั้งนี้ ผมสั่งมาเพียง 4 ต้น จริง ๆ แล้วก็คือ เค้าทำขายแค่ไม่กี่ชนิด แล้วที่ผมอยากได้ และยังไม่มีก็มีอยู่แค่นี้ คือ

1. N. albomarginata red ที่จริงมีต้นเล็ก ๆ อยู่ต้นนึง ได้มาจาก wistuba ราคา 8 ยูโร (ประมาณ 400 บาท แต่ละใบยาวประมาณ 1 นิ้ว หม้อจิ๋ว เท่าปลายปากกา) แต่ต้นที่ได้จากสวนผาสุขต้นนี้ ราคา 300 บาท ใหญ่มาก ๆ ใบยาวประมาณ 6 นิ้ว หม้อก็สูงเกือบ 3 นิ้ว
Photobucket

ดูหม้อกันชัด ๆ สีชมพู ลายแต้มแดงเข้ม
Photobucket

2. N. sibuyanensis ต้นที่เคยซื้อมาจาก วิสทูบา กลับเยอรมันไปแล้ว แค่ไม่กี่สัปดาห์ เพราะต้นเล็กพอ ๆ กับ albomarginata ต้นนี้สั่งมาในราคา 300 บาทเหมือนกัน แต่ขนาดผิดกันมาก ใบยาวประมาณ 4 นิ้ว ต้นสูง 5 นิ้ว มีหม้อใหญ่ มาให้ดูด้วย ความกว้างของหม้อเกือบ 1 นิ้ว
Photobucket

ซูมหม้อมาให้ดูชัด ๆ ฟอร์มสวย สีก็สวยด้วย แต่ไม่รู้จะได้เห็นหม้ออีกรึเปล่า เพราะน้องฟาร์ม ที่เคยสั่งมาเลี้ยงเหมือนกัน บอกว่า ตอนนี้เลี้ยงมาปีกว่า กลายเป็นไม้ "ดูใบ" คือมีแต่ใบ ไม่มีหม้อ ยังไงก็เก็บเป็นหลักฐานไว้ก่อนว่าเคยมีหม้อขนาดนี้
Photobucket

3. N. rafflesiana "Kuching squat red" ต้นนี้เล็กลงมาหน่อย หม้อยังไม่แดง ราคา 200 ต้นนี้ยังไม่มี เคยสั่งซื้อมาจาก มาเลเซียน่าแต่ก็ตายไปหลายปีแล้ว

ลักษณะหม้อข้าวหม้อแกงลิง


ลักษณะหม้อข้าวหม้อแกงลิง

รูปร่างลักษณะของหม้อข้าวหม้อแกงลิง
  • หม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นไม้เลื้อย มีระบบรากที่ตื้น / สั้น สูงได้หลายเมตร    
  • ลำต้นนั้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ1 เซนติเมตรหรือ หนากว่านั้น
  • จากลำต้นไปยังก้านใบมีลักษณะคล้ายใบ
  • หม้อระยะเริ่มแรกจะมีขนาดเล็กและค่อยๆโตขึ้นอย่างช้าๆจนเป็นกับดักทรงกลมหรือรูปหลอด
  • ข้างในหม้อจะบรรจุไปด้วยของเหลวที่พืชสร้างขึ้น อาจจะมีลักษณะเป็นน้ำหรือน้ำเชื่อมใช้สำหรับให้เหยื่อจมน้ำตาย ในหม้อข้าวหม้อแกงลิงหลายชนิด ของเหลวจะบรรจุไปด้วยสารเหนียวที่ถูกผสมขึ้นเป็นสำคัญเพื่อใช้ย่อยแมลงในหม้อ
  • ส่วนล่างของหม้อจะมีต่อมสำหรับดูดซึมสารอาหารจากเหยื่อที่จับได้
  • บริเวณด้านบนจะมีผิวลื่นเป็นมันเพื่อใช้เพื่อป้องกันเหยื่อหนีรอดไปได้
  • ทางเข้าของกับดักเป็นส่วนประกอบที่เรียกว่าเพอริสโตม จะลื่นและเต็มไปด้วยสีสันที่ดึงดูดเหยื่อเข้ามาและเสียหลักลื่นหล่นลงไปในหม้อ
  • ฝาหม้อ ในหม้อข้าวหม้อแกงลิงหลายๆชนิดนั้นใช้ป้องกันไม่ให้น้ำฝนตกลงไปผสมกับของเหลวในหม้อ
หม้อข้าวหม้อแกงลิง  แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่
  1. Lowland เป็น กลุ่มที่กำเนิดในระดับความสูงต่ำกว่า1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลลงมา หรือมีอุณหภูมิตอนกลางวัน ตั้งแต่ 80-95  F หรือ 27-35  C และกลางคืน ตั้งแต่ 70-80  F หรือ 21-27ํ C
  2. Highland เป็น กลุ่มที่กำเนิดในระดับความสูงมากกว่า1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป หรือมีอุณหภูมิตอนกลางวัน ตั้งแต่ 70-85  F หรือ 21-29  C และกลางคืน ตั้งแต่ 50-65  F หรือ 12-18  C
หม้อข้าวหม้อแกงลิงจะสร้างหม้อขึ้นมา 2 ชนิด คือ
  1. หม้อล่าง (Lower Pitcher) เป็นหม้อที่อยู่บริเวณโคนต้น มีขนาดใหญ่ สีสันสวยงาม
  2. หม้อบน (Upper Pitcher) มีขนาดเล็ก ก้านหม้อจะลีบแหลม รูปทรงของหม้อจะเปลี่ยนไป และสีสันจืดชืดกว่า
ลักษณะของหม้อล่าง (Lower Pitcher)
  • มีสีสันจัดสดใส
  • ก้านใบ / สายดิ่ง หรือ สายหม้อ  อยู่ฝั่งเดียวกับปีก
  • ปีก มีลักษณะกว้างใหญ่
ลักษณะของหม้อบน (Upper Pitcher)
  • มีสีสันซีดจาง หรือน้อยลง
  • ก้านใบ /สายดิ่ง หรือสายหม้อ อยู่คนละฝั่ง กับปีก
  • ปีก มีลักษณะลดสั้นลง หรือหายไป
เหยื่อของหม้อข้าวหม้อแกงลิงส่วนมากจะเป็นแมลง แต่บางชนิดที่มีหม้อขนาดใหญ่  บางครั้งเหยื่ออาจจะเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลัง

หม้อ ที่พบในไทย


หม้อข้าวหม้อแกงลิงที่พบในประเทศไทย

หม้อข้าวหม้อแกงลิงในประเทศไทย
ในประเทศไทยพบว่าหม้อข้าวหม้อแกงลิงมีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคกลาง, ภาคตะวันออก และภาคใต้
หม้อข้าวหม้อแกงลิงที่ถูกบันทึกว่าพบในประเทศไทย
1. Nepenthes anamensis

2. Nepenthes ampullaria

3. Nepenthes globosa

4. Nepenthes gracilis

5. Nepenthes mirabilis

6. Nepenthes sanguinea

7. Nepenthes smilesii

8. Nepenthes thorelii
 

การเพราะเมล็ดหม้อข้าวหม้อแกงลิง


การเพาะเมล็ดหม้อข้าวหม้อแกงลิง

การเพาะเมล็ดหม้อข้าวหม้อแกงลิง
วัสดุ อุปกรณ์ สำหรับเพาะเมล็ดหม้อข้าวหม้อแกงลิง


1. กาบมะพร้าวสับ เบอร์ละเอียดสุด
2. ขุยมะพร้าว ร่อน ผงที่ละเอียด
3. ตระกร้าพลาสติก ขนาดตามเหมาะสม
4. ปุ๋ยออสโมโคส 14-14-14
5. ถุงพลาสติกใส
วิธีทำ
1.เอากาบมะพร้าวสับมาใส่รองก้นตระกร้าให้หนาไม่ต่ำกว่า 2 เซ็นติเมตร เกลี่ยแล้วกดให้แน่นพอประมาณ
2.หว่านปุ๋ยออสโมโคสรองก้นพอประมาณ
3.ใส่ขุยมะพร้าวทับลงไปไม่ต่ำกว่า 3 เซนติเมตร เกลี่ยให้เรียบใช้มือกดเบาๆแล้วรดน้ำ
4.หว่านเมล็ดลงไป
5.ใช้ถุงพลาสติกใส สวมคลุมตะกร้าเพื่อเก็บความชื้น นำไปวางในที่ที่มีแสงสลั่ว (แสง 60 %)
รอเมล็ดงอก (จะงอกช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ ความสมบูรณ์ของเมล็ดที่ปลูกและสถานที่เพาะปลูก)  เวลาเพาะเมล็กอย่านำไปไว้ที่ร่มเพราะจะทำให้งอกช้ากว่าเดิม
  1. ถอดถุงพลาสติกที่คลุมอยู่ออกเมื่อเมล็ดงอกดีแล้ว
  2. ใช้ตะกร้าอีกใบที่มีขนาดเท่ากันมาคว่ำครอบไว้เพื่อ ลดแสง ป้องกันแมลง และป้องกันฝนที่ตก
หลังจากนั้นเริ่มปรับให้ได้รับแสงมากขึ้น ต้นก็จะแข็งแรงขึ้น
เมล็ดที่เพาะไว้อาจกินเวลาตั้งแต่3เดือนหรืออาจถึง1ปีกว่าจะเรี่มแยกได้ ขึ้นอยู่ที่ปัจจัยน้ำ แสง ชนิดพันธุ์

วิธีการเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิง


Category Archives: Uncategorized

การกินอาหารของหม้อข้าวหม้อแกงลิง

การกินอาหารของหม้อข้าวหม้อแกงลิง
ทรงของต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงนั้น มีทั้งยาวและสั้นตามลักษณะทางพันธุกรรม  มีฝาปิด ซึ่งสามารถกันน้ำฝนได้ เป็นร่มกับบังให้แมลงได้

 
ลักษณะของใบของต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นกับดักรูปทรงกระบอกมีหน้าที่ดักจับแมลง

 ลักษณะของกับดัก 
มีฝาปิด ทำหน้าที่ ป้องกันน้ำย่อยในหม้อไม่ให้ฝนที่ตกลงมาไปเจือจางน้ำย่อย
ในกับดัก มี สารจำพวกขี้ผึ้งอยู้บริเวณผิวหนังภายใหนส่วนบน ทำหน้าที่
ทำให้บริเวณนั้นลื่น แมลงที่มากินน้ำหวานจะตกไปได้ง่าย
หม้อข้าวข้าวหม้อแกงลิงบางชนิดมีขนแหลมบริเวณปาก ทำหน้าที่
เวลาแมลงตกลงลงไปใหนกับดัก แมลงจะไต่กลับึ้นมาได้ยาก
 เมื่อแมลงตกลงไปใหนกับดัก จะถูกย่อยด้วยน้ำย่อยที่ผลิตมา
น้ำย่อยจะย่อยสารอาหารของเหยื่อและลำเลียงไปใช้ประโยชน์
ส่วนกากของเหยื่อที่ไม่สามารถย่อยได้จะถูกทิ้งไว้ที่ก้นของกับดัก
หม้อข้าวหม้อแกงลิงแต่ละชนิดมีวิธีหลอกล่อเหยื่อที่หลากหลาย
ไม่ว่าจะเป็น การสร้างน้ำหวาน  ผลิตกลิ่นแมลงตัวเมีย
หรืออาจจะมีสีสันต่างๆที่สะดุดตา


ข้อบังคับการอนุรักษ์ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง


ข้อบังคับการอนุรักษ์ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง

หม้อข้าวหม้อแกงมีความเสี่ยงสูงที่จะสูญพันธื์ เนื่องจากการเก็บมาขายหรือบุกรุกป่า ทั้งนี้สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ
ได้บรรจุ ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง ลงในบัญชีอนุรักษ์ของสัญญาไซเตส เนื่องจากประเทศไทยได้เป็นสมาชิก จึงได้กำหนดนโยบายต่างๆ 
ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่อง พืชอนุรักษ์ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2518 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535 รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง


วงศ์หม้อข้าวหม้อแกงลิง (NEPENTHACEAE (Pitcher-plants)


พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 1
ชื่อไทย  นีเพนเธส คาเซียนา
ชื่อสากล Nepenthes khasiana 
ชื่อทางวิทยาศาสตร์  Indian pitcher plant

ชื่อไทย  นีเพนเธส ราจาห์
ชื่อสากล Nepenthes rajah
ชื่อทางวิทยาศาสตร์  Kinabalu pitcher plant

พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2
ชื่อไทย  นีเพนเธส สปีชีส์
ชื่อสากล Nepenthes spp.
ชื่อทางวิทยาศาสตร์  Pitcher-plants

ข้อบังคับ
1. ห้ามมิให้ผู้ใดนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านพืชอนุรักษ์และซากของพืชอนุรักษ์ เว้นแต่ได้รับหนังสืออนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย (มาตรา 29 ตรี)
2. ผู้ใดประสงค์จะขยายพันธุ์เทียมพืชอนุรักษ์เพื่อการค้า ให้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนสถานที่เพาะเลี้ยงพืชอนุรักษ์ต่อกรมวิชาการเกษตร (มาตรา 29 จัตวา)



เทคนิคการปลูกเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิงให้สวยงาม

เทคนิคการปลูกเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิงให้สวยงาม
ผู้คนส่วนใหญ่อาจจะคิดว่าการเลี้ยงต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นเรื่องที่ยาก แต่ความเป็นจริงถ้าเรารู้เทคนิคเพียงเล็กน้อยก็จะสามารถเลี้ยงต้อนหม้อข้าวหม้อแกงลิง
ให้สวยงามได้
วัสดุที่ใช้ปลูกหม้อข้าวหม้อแกงลิง
หม้อข้าวหม้อแกงลิง เป็นต้นไม้ที่ชอบเครื่องปลูกที่มีลักษณะโปร่งๆ ถ่ายเทอากาศได้สะดวก มีความชื้น และไม่แฉะ ปกติจะใช้กาบมะพร้าวสับขนาดเล็ก
เราอาจใช้ขุยมะพร้าว, ทรายหยาบ, ใบก้ามปู, หินภูเขาไฟ หรือ หินพัมมิส , เวอร์มิคูไลท์  , เพอร์ไลท์ , สแฟกนั่มมอส
และ พีทมอส  เป็นส่วนประกอบของเครื่องปลูกได้ โดยใช้ผสมกับกาบมะพร้าวสับ ในอัตราส่วน 3:1
(กาบมะพร้าว 3 ส่วน อื่นๆ 1 ส่วน)
กระถาง
 กระถางที่เหมาะสมแก่การการเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิง ควรจะใช้กระถางพลาสติก และไม่ควรใช้กระถางดินเผา
ในการปลูกเลี้ยง
น้ำ 
การให้น้ำหม้อข้าวหม้อแกงลิง  รดน้ำวันละครั้งเดียว ตอนช่วงเช้า รดให้น้ำทะลุผ่านออกก้นกระถาง และหากจำเป็นต้องรด
ช่วงเย็น พยายามให้น้ำที่เกาะอยู่ตามต้นแห้งก่อนจะค่ำ
แสง
 แสงเป็นปัจจัยสำคัญที่ให้หม้อข้าวหม้อแกงลิงเจริญเติบโต และออกหม้อ หม้อข้าวหม้อแกงลิงควรได้รับแสงอย่างน้อยครึ่งวัน การเจริญเติบโตอาจช้ากว่าต้น
ที่ได้รับแสงเต็มวัน หม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็น ต้นไม้ที่ชอบแสงมากๆ แต่ไม่ชอบแดดกลางแจ้งโดยตรง
ความชื้น
 ความชื้นเป็นปัจจัยสำคัญทำให้หม้อข้าวหม้อแกงลิงออกหม้อ ถ้าความชื้นไม่เพียงพอปลายใบที่พัฒนาออกมาเป็นหม้อจะแห้ง ไม่เจริญเติบโตต่อ
ปุ๋ย และอาหารเสริม 
เป็นสิ่งที่ไม่ค่อยจำเป็นมากสำหรับหม้อข้าวหม้อแกงลิง แต่ถ้าใส่จะทำให้เจริญเติบโตรวดเร็วขึ้น ใช้ปุ๋ยละลายช้าสูตรเสมอ 14-14-14, 16-16-16 หรือสูตรเร่งดอก
ก็ได้ ใส่ประมาณ 5-15 เม็ด ต่อกระถาง ใน 1 ปีควรใส่ปุ๋ยแค่ 2-4 ครั้ง

การกินอาหารของหม้อข้าวหม้อแกงลิง



การกินอาหารของหม้อข้าวหม้อแกงลิง
ทรงของต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงนั้น มีทั้งยาวและสั้นตามลักษณะทางพันธุกรรม  มีฝาปิด ซึ่งสามารถกันน้ำฝนได้ เป็นร่มกับบังให้แมลงได้

 
ลักษณะของใบของต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นกับดักรูปทรงกระบอกมีหน้าที่ดักจับแมลง

 ลักษณะของกับดัก 
มีฝาปิด ทำหน้าที่ ป้องกันน้ำย่อยในหม้อไม่ให้ฝนที่ตกลงมาไปเจือจางน้ำย่อย
ในกับดัก มี สารจำพวกขี้ผึ้งอยู้บริเวณผิวหนังภายใหนส่วนบน ทำหน้าที่
ทำให้บริเวณนั้นลื่น แมลงที่มากินน้ำหวานจะตกไปได้ง่าย
หม้อข้าวข้าวหม้อแกงลิงบางชนิดมีขนแหลมบริเวณปาก ทำหน้าที่
เวลาแมลงตกลงลงไปใหนกับดัก แมลงจะไต่กลับึ้นมาได้ยาก
 เมื่อแมลงตกลงไปใหนกับดัก จะถูกย่อยด้วยน้ำย่อยที่ผลิตมา
น้ำย่อยจะย่อยสารอาหารของเหยื่อและลำเลียงไปใช้ประโยชน์
ส่วนกากของเหยื่อที่ไม่สามารถย่อยได้จะถูกทิ้งไว้ที่ก้นของกับดัก
หม้อข้าวหม้อแกงลิงแต่ละชนิดมีวิธีหลอกล่อเหยื่อที่หลากหลาย
ไม่ว่าจะเป็น การสร้างน้ำหวาน  ผลิตกลิ่นแมลงตัวเมีย
หรืออาจจะมีสีสันต่างๆที่สะดุดตา

-->

วัสดุปลูก


เครื่องปลูกที่ใช้ในการปลูกหม้อข้าวหม้อแกงลิง
เครื่องปลูกที่ใช้ในการปลูกหม้อข้าวหม้อแกงลิง มีหลายชนิดด้วยกันครับ
นักเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิง สามารถเลือกซื้อ และปรับใช้กันได้ในหลายลักษณะ โดยไม่มีอะไรตายตัวครับ
 
กาบมะพร้าวสับ
กาบมะพร้าวสับ เป็นเครื่องปลูกที่นิยมใช้กันมากที่สุดในหมู่นักเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิงครับ

กาบมะพร้าวสับนั้นมีราคาที่แสนจะถูก แต่ในขณะเดียวกันก็จะเสือมสภาพ และย่อยสลายเร็ว

ยิ่งถ้านำมาใช้แบบหล่อน้ำสูง ๆ ก็จะทำให้อายุการใช้งานสั้นลงด้วย

ก่อนนำกาบมะพร้าวสับมาใช้งาน ควรแช่น้ำทิ้งไว้  1 – 2  วัน  หรือ 1 สัปดาห์ 

เพื่อให้กาบมะพร้าวสับ สามารถดูดซับน้ำได้เต็มที่

ถ้าต้องการใช้งานในกรณีเร่งด่วนก็ไม่ต้องแช่ก็ได้ครับ แต่เวลารดน้ำต้องรดน้ำให้มากกว่าปกติ 
 

หินพัมมิช (Pumice)
หินพัมมิช หรือเรียกอีกชื่อนึงว่า หินภูเขาไฟ เนื้อผิวของหินชนิดนี้จะมีความแข็ง สาก มีรูพรุนเล็ก ๆ

และมีน้ำหนักเบาสามารถลอยน้ำได้  ในท้องตลาดมีจำหน่าย หลาย ๆ ขนาดด้วยกัน สามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสมครับ

หินภูเขาไฟ เป็นเครื่องปลูกที่มีความคงทนถาวร ตลอดอายุการใช้งานครับ ไม่มีการยุบตัว สามารถอุ้มน้ำได้มาก

และเก็บความชื้นได้ดี ทั้งยังมีรูพรุนอยู่มากจึงทำให้โปรงถ่ายเทอากาศได้สะดวก 

หินภูเขาไฟนั้นถึงจะมีความชื้นมาก แต่ก็ไม่ทำให้รากเน่า หรือขึ้นรา

นอกจากนี้หินภูเขาไฟยังมีค่า PH เป็นกลางด้วยครับ
หินภูเขาไฟนั้นมีแร่ธาตุที่สำคัญตามธรรมชาติอยู่มาก ช่วยในการเจริญเติบโตของต้นไม้ และทำให้ต้นไม้มีความแข็งแรง ทนทานต่อโรค

และแมลงศัตรูพืช

แร่ธาตุต่าง ๆ ที่มีอยู่ใน หินภูเขาไฟ มีดังนี้
ซิลิกา , แคลเซียมออกไซด์ , แมกนิเซียมออกไซด์ , โซเดียมออกไซด์ , โพแทสเซียมออกไซด์ , เฟอร์ริกออกไซด์ , อลูมินา 

และแมงกานีสไดออกไซด์
ก่อนนำหินภูเขาไฟ มาใช้งาน ควรแช่น้ำทิ้งไว้สักพัก เพื่อให้หินภูเขาไฟเก็บความชุ่มชื้นก่อนนำไปใช้งาน

หินภูเขาไฟ สามารถนำไปผสมกับเครื่องปลูกตัวอื่น ๆ หรือใช้หินภูเขาไฟอย่างเดียวเป็นวัสดุปลูกก็ได้ครับ



สแฟกนั่มมอส ( Sphagnum moss)
สแฟกนั่มมอส ที่นักเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิงนิยมใช้ก็คือ สแฟกนั่มมอส ของประเทศนิวซีแลนด์ ครับ
 
เพราะมีคุณสมบัตดี ลำต้นแข็งแรง อุ้มน้ำได้ดี  ถ่ายเทอากาศดี รากของต้นไม้สามารถยึดเกาะได้ดี
 
อายุการใช้งานอยู่ได้นานหลายปี และที่สำคัญไม่สะสมเกลือจากการใช้ปุ๋ยครับ
สแฟกนั่มมอส ของประเทศนิวซีแลนด์ นั้นผ่านกระบวนการอบแห้ง จึงทำให้สแฟกนั่มมอส สะอาด และเหมาะกับการใช้งานครับ

 
เพอร์ไลท์ (perlite)
เพอร์ไลท์ ในธรรมชาตินั้นเกิดมาจากการสลายตัวของหินภูเขาไฟ
เพอร์ไลท์ที่เราเห็นอยู่นี้ได้ผ่านการแปรรูปแล้วด้วยการนำมาเผาด้วยความร้อนสูง เพื่อความเหมาะสมในการใช้งาน
เพอร์ไลท์ สามารถในการอุ้มน้ำและระบายอากาศได้ดี มีน้ำหนักเบา และเนื่องจากเพอร์ไลท์มีลักษณะเป็นผลึกจึงทนทานต่อแรงกดทับ และยุบตัวน้อยครับ
เมื่อได้รับความร้อนสามารถขยายตัวได้ 5 – 20 เท่าจากขนาดเดิม เมื่อนำไปผสมกับเครื่องปลูกจะช่วยให้มีความโปร่ง และสามารถดูดซับกลิ่น แอมโมเนีย และไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซึ่งจะเป็นอาหารที่ดีของพืช
แร่ธาตุต่าง ๆ ที่มีอยู่ใน เพอร์ไลท์ มีดังนี้ครับ
ซิลิก้า , อะลูมิเนียม , โซเดียม , เหล็ก , โพแทสเซียม , น้ำ
ก่อนนำเพอร์ไลท์มาใช้งาน ควรแช่น้ำทิ้งไว้สักพัก เพื่อให้เพอร์ไลท์เก็บความชุ่มชื้นก่อนนำไปใช้งาน
เพอร์ไลท์สามารถนำไปผสมกับเครื่องปลูกตัวอื่น ๆ เพื่อใช้เพิ่มแร่ธาตุ และความโปร่งของเครื่องปลูก


ทราย
 ทราย ประกอบด้วยเศษหิน และแร่ธาตุชิ้นเล็กๆ  แร่ที่พบในทรายมากที่สุดในทราย คือ ควอทซ์

เม็ดทรายมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.06 mm – 2.1 mm  
เมื่อนำไปผสมกับเครื่องปลูกหม้อข้าวหม้อแกงลิงครับ จะช่วยให้มีความโปร่ง และอากาศถ่ายเทดี

แต่ทรายนั้นเป็นเครื่องปลูกที่เหมื่อนเป็นดาบสองคม เพราะถ้าผสมมากไป พอขุยมะพร้าว หรือกาบมะพร้าวสับเริ่มเสื่อมสภาพ
ทรายจะรวมตัวกับเครื่องปลูกเหล่านั้น จับตัวกันแน่น และมีน้ำหนักมาก

ซึ่งจะทำให้ทำให้รากหม้อข้าวหม้อแกงลิงเดินไม่สะดวก หรืออาจจะเสียหาย ครับ

ทรายหยาบสามารถหาซื้อได้ตามร้านวัสดุก่อสร้างทั่วไปครับ 




ขุยมะพร้าว
ขุยมะพร้าว เป็นเครื่องปลูกที่นิยมใช้กันมากอีกอย่างนึ่ง ในหมู่นักเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิงครับ

ขุยมะพร้าวนั้นมีราคาที่แสนจะถูก เท่า ๆ กับ กาบมะพร้าวสับ และสามารถผสมรวมกับกาบมะพร้าวสับ และเครื่องปลูกชนิด ต่าง ๆ ได้

แต่ในขณะเดียวกันก็จะเสือมสภาพ และย่อยสลายเร็วกว่ากาบมะพร้าวสับ 

ยิ่งถ้านำมาใช้แบบหล่อน้ำสูง ๆ ก็จะทำให้อายุการใช้งานสั้นลงด้วย

ก่อนนำขุยมะพร้าวมาใช้งาน ควรแช่น้ำทิ้งไว้  1 – 2  วัน  หรือ 1 สัปดาห์ 

เพื่อให้ขุยมะพร้าว สามารถดูดซับน้ำได้เต็มที่

ถ้าต้องการใช้งานในกรณีเร่งด่วนก็ไม่ต้องแช่ก็ได้ครับ แต่เวลารดน้ำต้องรดน้ำให้มากกว่าปกติ 

รวม ภาพ n แอม

       หม้อข้าวหม้อแกงลิง เป็นชื่อเรียกรวมๆ พรรณไม้ในสกุล Nepenthes อยู่ในวงศ์ Nepenthaceae พรรณไม้สกุลนี้ในประเทศไทย เท่าที่มีรายงานการค้นพบในธรรมชาติ  มีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิด คือ
          หม้อแกงลิง   Nepenthes ampullaria Jack
          หม้อข้าวหม้อแกงลิง   N. gracilis Korth.
          เขนงนายพราน หรือหม้อข้าวหม้อแกงลิง  N. mirabilis (Lour.) Druce
          น้ำเต้าฤาษี   N. smilesii Hemsl.
          น้ำเต้าลม   N. thorelii Lecomte
           

          แอมพูลลาเรีย  สายพันธุ์ อิเรียน จายา  เชื่อว่าให้
แอมแดงกระเขียว ต้นนี้ชื่อ Canthey's Red  
หม้อใหญ่ที่สุดในโลก.นบรรดาแอมพูลลาเรียด้วยกัน โดยเฉพาะพันธุ์ที่เก็บในป่าบางจุดในเขตอิเรียนจายา 
          หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดที่พบได้มากที่สุด  การะจายตัวทั่วไปในประเทศไทย คือ เขนงนายพราน(N. mirabilis) หรือรู้จักกันดีในชื่อ “หม้อข้าวหม้อแกงลิง” พบได้ในที่แฉะ มีน้ำขังทั่วๆ ไป เมื่อนำมาปลูกจะขึ้นได้ง่ายในที่ชื้น จึงนิยมนำมาปลูกประดับตามสวนทั่วๆ ไป
      
          หม้อแกงลิง หรือชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nepenthes ampullaria มีเอกลักษณ์โดดเด่น หม้อกลมสวย โดยเฉพาะหม้อที่เกิดในป่าธรรมชาติ ชาวบ้านบางคนที่แอบเข้าไปเก็บของป่าขายยืนยันว่า กอใหญ่มีหม้อขนาดลูกมะพร้าวเลยทีเดียว แถมหม้อยังดกมากถึงขนาดผุดขึ้นเองจากลำต้น  หรือผุดจากใต้ดิน แลดูสวยงามมาก 
          สิ่งนี้เองที่ทำให้นักเพาะเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิงทั่วโลก  ให้ความสนใจกับหม้อแกงลิงเป็นพิเศษ เพราะเป็นหนึ่งเดียวในโลกมีหม้อผุดจากดินขึ้นมาได้  มีรายงานจากชวาว่า ความที่หม้อแกงลิงมีขนาดใหญ่มาก  พรานป่าเคยพบสัตว์จำพวกหนู  และนกเล็กตายอยู่ในหม้อ !!

           นักวิชาการกลุ่มพฤกษศาสตร์ป่าไม้ ฝ่ายวนวัฒนวิจัยและพฤกษศาสตร์ กล่าวว่าหม้อแกงลิง N. ampullaria พบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามป่าผลัดใบในดินแล้งปนทราย แต่จากประสบการณ์ของ นีโอเอ็กโซทิกแพลนท์ พบว่า  หม้อแกงลิงมีมากทางภาคใต้  ตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงไปถึงมาเลเซีย อินโดนิเซีย บอร์เนียว ฯลฯ
           แอมพูลลาเรียมีสายพันธุ์ย่อยมากมาย ทั้งที่เกิดตามธรรมชาติ  และที่เกิดจากการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์โดย
ฝีมือของมนุษย์ (Cultivars ย่อว่า cv.)  ที่รู้จักกันดีมีดังนี้
    - N. ampullaria straits-spotted, red peristome 
    - N. ampullaria  Sumatra spotted 
    - N. ampullaria   var. geelvinkiana
    - N. ampullaria   var. guttata 
    - N. ampullaria   var. longicarpa
    - N. ampullaria   var. microsepala 
    - N. ampullaria   var. racemosa
    - N. ampullaria   var. vittata
    - N. ampullaria   var. vittata-major  
    - N. ampullaria   cv. picta
    - N. ampullaria   "f. Red Moon"
    - N. ampullaria  green ,red peristome 'Hot Lip'
     และอื่นๆ อีกมาก
         
N. ampullaria  green
N. ampullaria Hot Lip
N. ampullaria spotted
          วงการตลาดบ้านเรา นิยมเรียกหม้อแกงลิงว่า “แอม” ตามชื่อภาษาอังกฤษมากกว่าจะเรียกชื่อไทย นักเลงหม้อ 10 ปีที่แล้วเรียก "ตัวกลม" 
          แอมที่พบเห็นวางขายทั่วไป  ราคาถูกที่สุดคือแอมเขียว  คือกลมเขียวทั้งลูก   แอมเขียว  มีสายพันธุ์พันธุ์ย่อย  แอมเขียวปากแดง (N. ampullaria  green ,red peristome 'Hot Lip')   หม้อสวย ราคาแพง    แอมพูลาเรียชนิดลายกระ  หรือ แอมสป็อต อาจเป็นชนิดพื้นเขียวจุดน้ำตาลแดง   หรือแอมแดงกระเขียว อย่าง  Canthey's Red   และอื่นๆ อีกมากมาย  
           แอมพูลาเรียแดง  ถ้าแดงสนิท เช่นสายพันธ์ William’s Red ราคาต่อต้นเกือบทะลุหมื่น และต้องสั่งจองล่วงหน้าเป็นเวลานาน     
            สำหรับคนที่เชื่อเรื่องไม้ให้โชคต่างเชื่อกันว่า  แอมพูลาเรีย เป็นพันธุ์ไม้ให้โชคปลูกแล้วรวย  ช่วยเก็บเงิน ดักทรัพย์  เป็นถุงเงินถุงทองของบ้านเรือน  เหมาะกับผู้ที่ต้องการสะสมทรัพย์ ช่วยให้เงินมากเหลือเก็บ   หากปลูกเลี้ยงดีมีถุงหลายใบ ถุงเงินถุงทองจะช่วยให้เงินทองเต็มบ้าน โชคลาภเพิ่มทวี ยิ่งถุงใหญ่ กลม ยิ่งสะสมดี     
         
          การดูแล
          แอมทั้งหมดจัดเป็นไม้ lowland ขึ้นบนเชิงเขา แต่สูงไม่เกิน 1000 เมตร จึงชอบอากาศค่อนข้างเย็น หลายตัวอยู่อากาศกรุงเทพสบาย แต่ต้องให้ชื้นและไม่ชอบแสงมากนัก  พบว่าหม้อแกงลิง"ตัวกลม" จะงามพิเศษถ้าวางบนพื้นดินแฉะๆ  ความชื้นสัมพัทธ์ไม่ควรต่ำกว่าร้อยละ 75 (เครื่องวัดความชื้นสัมพัทธ์ของจีนแดงมีขาย ราคาไม่แพง หากสงสัยอาจลองซื้อมาวัดดูได้เอง  ผู้เขียนเคยซื้อได้ที่ร้าน KU Garden แต่เชื่อว่าร้านอื่นก็น่าจะมีขาย  แอมบางตัวเช่นสาย ยะโฮร์ บารู (Johore Bahru) ถ้าปลูกในที่ชื้นต่ำกว่า 60 % หม้อจะฝ่อ และต้นแกร็น
          แอมเป็นหม้อที่ไม่ชอบแสง  ในธรรมชาติจะอยู่ใต้ไม้ใหญ่  ในป่าลึกแสงแทบส่องไม่ถึง  ในที่แสงน้อยหม้อจะใหญ่ แต่ลายไม่คมชัด  บางคนใช้เทคนิคเลี้ยงในร่มจนลูกโตจึง
หม้อสองชั้น ดูแล้วแปลกดี  เกิดจากหม้อเล็กเจริญเติบโตในหม้อใหญ่เป็นภาพที่หาดูยาก 
เอาออกแสงเพื่อให้ลายเข้ม  แต่ระวังอย่าโดนแดดตรง ดินปลูกตามปรกติ  แต่ถ้าเพิ่มสแฟกนั่มมอสเส้นยาวสัก  1/3 ก็จะดียิ่งขึ้น  ฟาร์มแถวปทุมธานีใส่ปุ๋ยออสโมโคทสูตรเสมอ 10 เม็ด บริเวณโคน  ต้นโตเร็วมาก แต่เนื้อไม้ค่อนข้างนิ่ม
         "ตัวกลม" เป็นไม้ที่พาดเลื้อยขึ้นสูงได้ถึง 5 เมตร ผู้รู้บางคนบอกว่าแอมไม่มีหม้อ upper แต่บางคนว่ามี  เพียงแต่เราไม่เคยเห็นเพราะมันอยู่สูงระดับยอดไม้
 
       เมือแอมเถายาวพอควร  มันจะสร้างไหลใต้ดิน(Runners)  แทงไปได้ไกลๆ  ไหลอาจมีตาแตกต้นใหม่ บางครั้งต้นใหม่โผล่เพียงหม้อหลายสิบหม้อขึ้นมาจับแมลงโดยไม่เห็นใบ แลดูแปลกประหลาดมาก  เราอาจตัดไหลหรือต้นไปชำได้ไม่ยาก แต่ระวังถ้ามือไม่แน่ หรือกิ่งอ่อนใกล้ยอด  ควรเผื่อไว้ 4 ตา หรือ 4 ข้อใบ มิฉนั้นอาจเน่าเสียเปล่า

n ฮามมาต้า

บทความนี้เป็นบทความสำหรับชื่อวงศ์ และสกุล
หม้อข้าวหม้อแกงลิง
หม้อบนของ Nepenthes edwardsiana
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:พืช (Plantae)
ดิวิชั่น:พืชดอก (Magnoliophyta)
ชั้น:พืชใบเลี้ยงคู่ (Magnoliopsida)
อันดับ:Caryophyllales
วงศ์:Nepenthaceae
Dumort. (1829)
สกุล:Nepenthes
L. (1753)
สปีชี่ส์
รายชื่อชนิดของหม้อข้าวหม้อแกงลิง
แผนที่หม้อข้าวหม้อแกงลิงทั่วโลก
ชื่อพ้อง
  • Anurosperma Hallier (1921)
  • Bandura Adans. (1763)
  • Phyllamphora Lour. (1790)
หม้อข้าวหม้อแกงลิง (อังกฤษ: nepenthes; ชื่อสามัญ: tropical pitcher plants หรือ monkey cups) ( nə'pεnθiːz / มาจากภาษากรีก: ne = ไม่, penthos = โศกเศร้า, ความเสียใจ; ชื่อของภาชนะใส่เหล้าของกรีกโบราณ (กรีก: Nepenthe) ) หรือที่รู้จักกันในชื่อของหม้อข้าวหม้อแกงลิง หม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นสกุลของพืชกินสัตว์ในวงศ์หม้อข้าวหม้อแกงลิง ซึ่งประกอบไปด้วย 120 กว่าชนิด และลูกผสมอีกมากมาย เป็นไม้เลื้อยจากโลกเก่าที่ขึ้นในเขตร้อนชื้น กระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนใต้ของจีน, อินโดนีเซีย, มาเลเซียและฟิลิปปิน; ทางตะวันตกของมาดากัสการ์ (2 ชนิด) และเซเชลส์ (1 ชนิด) ; ตอนใต้ของออสเตรเลีย (3 ชนิด) และนิวแคลิโดเนีย (1 ชนิด) ; ตอนเหนือของอินเดีย (1 ชนิด) และศรีลังกา (1 ชนิด) พบมากที่บอร์เนียว และ สุมาตรา ส่วนมากนั้นเป็นพืชที่ขึ้นตามที่ลุ่มเขตร้อนชื้น แต่ในระยะหลังหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดใหม่ๆมักพบตามภูเขาซึ่งมีอากาศร้อนตอนกลางวันและหนาวเย็นตอนกลางคืน ส่วนชื่อหม้อข้าวหม้อแกงลิง มาจากข้อเท็จจริงที่ว่าลิงมาดื่มน้ำฝนจากหม้อของพืชชนิดนี้
 หม้อข้าวหม้อแกงลิง                                                                                                                              นั้นเป็นที่ถูกอกถูกใจของนักเลี้ยงต้นไม้หลาย ๆ ท่าน  ซึ่งผมตัวเองก็เป็นอีกคนนึง
 ที่ชื่นชอบหม้อข้าวหม้อแกงลิงเช่นกันครับ หม้อข้าวหม้อแกงลิง ในต่างประเทศพบมากบน เกาะ       บอร์เนียว
เกาะสุมาตรา และในประเทศไทยนั้นก็สามารถ พบเห็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงได้ในหลายจังหวัดด้วยกันครับ
 เช่น จังหวัดอุบลราชธานี , จังหวัดนราธิวาส , จังหวัดสุราษฎร์ธานี ฯลฯ
 
หม้อข้าวหม้อแกงลิง ในธรรมชาติโดยส่วนใหญ่พบใน อุทยานแห่งชาติ , ป่าพรุ , ภูเขา , สวนยาง และที่ราบลุ่ม


      ปัจจุบันได้มีนักเลี้ยงพันธุ์ไม้กินแมลงได้พัฒนาสายพันธุ์หม้อข้าวหม้อแกงลิง ด้วยการผสมเกสร
ซึ่งทำให้เกิด หม้อข้าวหม้อแกงลิง ลูกผสมใหม่ ๆ ที่หลากหลาย มีสีสันสวยงาม และลักษณะแปลกใหม่อยู่เสมอครับ
หม้อข้าวหม้อแกงลิง โดย นักเลี้ยงคนไทย