วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

ลักษณะหม้อข้าวหม้อแกงลิง


ลักษณะหม้อข้าวหม้อแกงลิง

รูปร่างลักษณะของหม้อข้าวหม้อแกงลิง
  • หม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นไม้เลื้อย มีระบบรากที่ตื้น / สั้น สูงได้หลายเมตร    
  • ลำต้นนั้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ1 เซนติเมตรหรือ หนากว่านั้น
  • จากลำต้นไปยังก้านใบมีลักษณะคล้ายใบ
  • หม้อระยะเริ่มแรกจะมีขนาดเล็กและค่อยๆโตขึ้นอย่างช้าๆจนเป็นกับดักทรงกลมหรือรูปหลอด
  • ข้างในหม้อจะบรรจุไปด้วยของเหลวที่พืชสร้างขึ้น อาจจะมีลักษณะเป็นน้ำหรือน้ำเชื่อมใช้สำหรับให้เหยื่อจมน้ำตาย ในหม้อข้าวหม้อแกงลิงหลายชนิด ของเหลวจะบรรจุไปด้วยสารเหนียวที่ถูกผสมขึ้นเป็นสำคัญเพื่อใช้ย่อยแมลงในหม้อ
  • ส่วนล่างของหม้อจะมีต่อมสำหรับดูดซึมสารอาหารจากเหยื่อที่จับได้
  • บริเวณด้านบนจะมีผิวลื่นเป็นมันเพื่อใช้เพื่อป้องกันเหยื่อหนีรอดไปได้
  • ทางเข้าของกับดักเป็นส่วนประกอบที่เรียกว่าเพอริสโตม จะลื่นและเต็มไปด้วยสีสันที่ดึงดูดเหยื่อเข้ามาและเสียหลักลื่นหล่นลงไปในหม้อ
  • ฝาหม้อ ในหม้อข้าวหม้อแกงลิงหลายๆชนิดนั้นใช้ป้องกันไม่ให้น้ำฝนตกลงไปผสมกับของเหลวในหม้อ
หม้อข้าวหม้อแกงลิง  แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่
  1. Lowland เป็น กลุ่มที่กำเนิดในระดับความสูงต่ำกว่า1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลลงมา หรือมีอุณหภูมิตอนกลางวัน ตั้งแต่ 80-95  F หรือ 27-35  C และกลางคืน ตั้งแต่ 70-80  F หรือ 21-27ํ C
  2. Highland เป็น กลุ่มที่กำเนิดในระดับความสูงมากกว่า1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป หรือมีอุณหภูมิตอนกลางวัน ตั้งแต่ 70-85  F หรือ 21-29  C และกลางคืน ตั้งแต่ 50-65  F หรือ 12-18  C
หม้อข้าวหม้อแกงลิงจะสร้างหม้อขึ้นมา 2 ชนิด คือ
  1. หม้อล่าง (Lower Pitcher) เป็นหม้อที่อยู่บริเวณโคนต้น มีขนาดใหญ่ สีสันสวยงาม
  2. หม้อบน (Upper Pitcher) มีขนาดเล็ก ก้านหม้อจะลีบแหลม รูปทรงของหม้อจะเปลี่ยนไป และสีสันจืดชืดกว่า
ลักษณะของหม้อล่าง (Lower Pitcher)
  • มีสีสันจัดสดใส
  • ก้านใบ / สายดิ่ง หรือ สายหม้อ  อยู่ฝั่งเดียวกับปีก
  • ปีก มีลักษณะกว้างใหญ่
ลักษณะของหม้อบน (Upper Pitcher)
  • มีสีสันซีดจาง หรือน้อยลง
  • ก้านใบ /สายดิ่ง หรือสายหม้อ อยู่คนละฝั่ง กับปีก
  • ปีก มีลักษณะลดสั้นลง หรือหายไป
เหยื่อของหม้อข้าวหม้อแกงลิงส่วนมากจะเป็นแมลง แต่บางชนิดที่มีหม้อขนาดใหญ่  บางครั้งเหยื่ออาจจะเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น