วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

รวม ภาพ n แอม

       หม้อข้าวหม้อแกงลิง เป็นชื่อเรียกรวมๆ พรรณไม้ในสกุล Nepenthes อยู่ในวงศ์ Nepenthaceae พรรณไม้สกุลนี้ในประเทศไทย เท่าที่มีรายงานการค้นพบในธรรมชาติ  มีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิด คือ
          หม้อแกงลิง   Nepenthes ampullaria Jack
          หม้อข้าวหม้อแกงลิง   N. gracilis Korth.
          เขนงนายพราน หรือหม้อข้าวหม้อแกงลิง  N. mirabilis (Lour.) Druce
          น้ำเต้าฤาษี   N. smilesii Hemsl.
          น้ำเต้าลม   N. thorelii Lecomte
           

          แอมพูลลาเรีย  สายพันธุ์ อิเรียน จายา  เชื่อว่าให้
แอมแดงกระเขียว ต้นนี้ชื่อ Canthey's Red  
หม้อใหญ่ที่สุดในโลก.นบรรดาแอมพูลลาเรียด้วยกัน โดยเฉพาะพันธุ์ที่เก็บในป่าบางจุดในเขตอิเรียนจายา 
          หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดที่พบได้มากที่สุด  การะจายตัวทั่วไปในประเทศไทย คือ เขนงนายพราน(N. mirabilis) หรือรู้จักกันดีในชื่อ “หม้อข้าวหม้อแกงลิง” พบได้ในที่แฉะ มีน้ำขังทั่วๆ ไป เมื่อนำมาปลูกจะขึ้นได้ง่ายในที่ชื้น จึงนิยมนำมาปลูกประดับตามสวนทั่วๆ ไป
      
          หม้อแกงลิง หรือชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nepenthes ampullaria มีเอกลักษณ์โดดเด่น หม้อกลมสวย โดยเฉพาะหม้อที่เกิดในป่าธรรมชาติ ชาวบ้านบางคนที่แอบเข้าไปเก็บของป่าขายยืนยันว่า กอใหญ่มีหม้อขนาดลูกมะพร้าวเลยทีเดียว แถมหม้อยังดกมากถึงขนาดผุดขึ้นเองจากลำต้น  หรือผุดจากใต้ดิน แลดูสวยงามมาก 
          สิ่งนี้เองที่ทำให้นักเพาะเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิงทั่วโลก  ให้ความสนใจกับหม้อแกงลิงเป็นพิเศษ เพราะเป็นหนึ่งเดียวในโลกมีหม้อผุดจากดินขึ้นมาได้  มีรายงานจากชวาว่า ความที่หม้อแกงลิงมีขนาดใหญ่มาก  พรานป่าเคยพบสัตว์จำพวกหนู  และนกเล็กตายอยู่ในหม้อ !!

           นักวิชาการกลุ่มพฤกษศาสตร์ป่าไม้ ฝ่ายวนวัฒนวิจัยและพฤกษศาสตร์ กล่าวว่าหม้อแกงลิง N. ampullaria พบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามป่าผลัดใบในดินแล้งปนทราย แต่จากประสบการณ์ของ นีโอเอ็กโซทิกแพลนท์ พบว่า  หม้อแกงลิงมีมากทางภาคใต้  ตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงไปถึงมาเลเซีย อินโดนิเซีย บอร์เนียว ฯลฯ
           แอมพูลลาเรียมีสายพันธุ์ย่อยมากมาย ทั้งที่เกิดตามธรรมชาติ  และที่เกิดจากการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์โดย
ฝีมือของมนุษย์ (Cultivars ย่อว่า cv.)  ที่รู้จักกันดีมีดังนี้
    - N. ampullaria straits-spotted, red peristome 
    - N. ampullaria  Sumatra spotted 
    - N. ampullaria   var. geelvinkiana
    - N. ampullaria   var. guttata 
    - N. ampullaria   var. longicarpa
    - N. ampullaria   var. microsepala 
    - N. ampullaria   var. racemosa
    - N. ampullaria   var. vittata
    - N. ampullaria   var. vittata-major  
    - N. ampullaria   cv. picta
    - N. ampullaria   "f. Red Moon"
    - N. ampullaria  green ,red peristome 'Hot Lip'
     และอื่นๆ อีกมาก
         
N. ampullaria  green
N. ampullaria Hot Lip
N. ampullaria spotted
          วงการตลาดบ้านเรา นิยมเรียกหม้อแกงลิงว่า “แอม” ตามชื่อภาษาอังกฤษมากกว่าจะเรียกชื่อไทย นักเลงหม้อ 10 ปีที่แล้วเรียก "ตัวกลม" 
          แอมที่พบเห็นวางขายทั่วไป  ราคาถูกที่สุดคือแอมเขียว  คือกลมเขียวทั้งลูก   แอมเขียว  มีสายพันธุ์พันธุ์ย่อย  แอมเขียวปากแดง (N. ampullaria  green ,red peristome 'Hot Lip')   หม้อสวย ราคาแพง    แอมพูลาเรียชนิดลายกระ  หรือ แอมสป็อต อาจเป็นชนิดพื้นเขียวจุดน้ำตาลแดง   หรือแอมแดงกระเขียว อย่าง  Canthey's Red   และอื่นๆ อีกมากมาย  
           แอมพูลาเรียแดง  ถ้าแดงสนิท เช่นสายพันธ์ William’s Red ราคาต่อต้นเกือบทะลุหมื่น และต้องสั่งจองล่วงหน้าเป็นเวลานาน     
            สำหรับคนที่เชื่อเรื่องไม้ให้โชคต่างเชื่อกันว่า  แอมพูลาเรีย เป็นพันธุ์ไม้ให้โชคปลูกแล้วรวย  ช่วยเก็บเงิน ดักทรัพย์  เป็นถุงเงินถุงทองของบ้านเรือน  เหมาะกับผู้ที่ต้องการสะสมทรัพย์ ช่วยให้เงินมากเหลือเก็บ   หากปลูกเลี้ยงดีมีถุงหลายใบ ถุงเงินถุงทองจะช่วยให้เงินทองเต็มบ้าน โชคลาภเพิ่มทวี ยิ่งถุงใหญ่ กลม ยิ่งสะสมดี     
         
          การดูแล
          แอมทั้งหมดจัดเป็นไม้ lowland ขึ้นบนเชิงเขา แต่สูงไม่เกิน 1000 เมตร จึงชอบอากาศค่อนข้างเย็น หลายตัวอยู่อากาศกรุงเทพสบาย แต่ต้องให้ชื้นและไม่ชอบแสงมากนัก  พบว่าหม้อแกงลิง"ตัวกลม" จะงามพิเศษถ้าวางบนพื้นดินแฉะๆ  ความชื้นสัมพัทธ์ไม่ควรต่ำกว่าร้อยละ 75 (เครื่องวัดความชื้นสัมพัทธ์ของจีนแดงมีขาย ราคาไม่แพง หากสงสัยอาจลองซื้อมาวัดดูได้เอง  ผู้เขียนเคยซื้อได้ที่ร้าน KU Garden แต่เชื่อว่าร้านอื่นก็น่าจะมีขาย  แอมบางตัวเช่นสาย ยะโฮร์ บารู (Johore Bahru) ถ้าปลูกในที่ชื้นต่ำกว่า 60 % หม้อจะฝ่อ และต้นแกร็น
          แอมเป็นหม้อที่ไม่ชอบแสง  ในธรรมชาติจะอยู่ใต้ไม้ใหญ่  ในป่าลึกแสงแทบส่องไม่ถึง  ในที่แสงน้อยหม้อจะใหญ่ แต่ลายไม่คมชัด  บางคนใช้เทคนิคเลี้ยงในร่มจนลูกโตจึง
หม้อสองชั้น ดูแล้วแปลกดี  เกิดจากหม้อเล็กเจริญเติบโตในหม้อใหญ่เป็นภาพที่หาดูยาก 
เอาออกแสงเพื่อให้ลายเข้ม  แต่ระวังอย่าโดนแดดตรง ดินปลูกตามปรกติ  แต่ถ้าเพิ่มสแฟกนั่มมอสเส้นยาวสัก  1/3 ก็จะดียิ่งขึ้น  ฟาร์มแถวปทุมธานีใส่ปุ๋ยออสโมโคทสูตรเสมอ 10 เม็ด บริเวณโคน  ต้นโตเร็วมาก แต่เนื้อไม้ค่อนข้างนิ่ม
         "ตัวกลม" เป็นไม้ที่พาดเลื้อยขึ้นสูงได้ถึง 5 เมตร ผู้รู้บางคนบอกว่าแอมไม่มีหม้อ upper แต่บางคนว่ามี  เพียงแต่เราไม่เคยเห็นเพราะมันอยู่สูงระดับยอดไม้
 
       เมือแอมเถายาวพอควร  มันจะสร้างไหลใต้ดิน(Runners)  แทงไปได้ไกลๆ  ไหลอาจมีตาแตกต้นใหม่ บางครั้งต้นใหม่โผล่เพียงหม้อหลายสิบหม้อขึ้นมาจับแมลงโดยไม่เห็นใบ แลดูแปลกประหลาดมาก  เราอาจตัดไหลหรือต้นไปชำได้ไม่ยาก แต่ระวังถ้ามือไม่แน่ หรือกิ่งอ่อนใกล้ยอด  ควรเผื่อไว้ 4 ตา หรือ 4 ข้อใบ มิฉนั้นอาจเน่าเสียเปล่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น